คอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้เหล็กอะไร
เหล็กที่เสริมในคอนกรีตมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ เหล็กเส้นกลมหรือ เหล็ก RB (Round Bars) และเหล็กข้ออ้อย DB (Deformed Bars ) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดจะมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
เหล็ก RB
-เหล็กเส้นกลม
-RB ย่อมาจากคำว่า Round Bars
-มีลักษณะผิวเรียบเกลี้ยง
-ขนาด 6 - 34 มิลลิเมตร
-ความยาว 10 เมตร
- มาตรฐาน มอก. 20-2527
-ชั้นคุณภาพ SR24 ( Standrad Round Bar)
-จุดครากไม่น้อยกว่า 2,400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ksc)
-ใช้ในงาน ทำปลอกเสาหรือคาน สำเหรับเหล็กที่มีขนาด 6-9 มิลลิเมตร และเหล็กที่มีขนาดโตกว่านี้ใช้ในงานเสริมแกนภายในคอนกรีต
-ตัวอย่างการบอกชนิดขนาด
RB12 = เหล็กเส้นกลมขนาด 12 มิลลิเมตร
เหล็ก DB
-เหล็กเส้นข้ออ้อย
-DB ย่อมาจากคำว่า Deformed Bars
-มีลักษณะผิวเป็นปล้องๆ คล้ายๆอ้อย
-ขนาด 10-40 มิลลิเมตร
-ความยาว 10 เมตรและ 12 เมตร
- มาตรฐาน มอก. 24-2548
-ชั้นคุณภาพ SD ( Standrad Round Bar) มีอยู่ 3 แบบคือ SD 30,SD 40,SD50
-จุดครากขึ้นอยู่กับชั้นคุณภาพ
- SD 30 ไม่น้อยกว่า 3,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ksc)
- SD 40 ไม่น้อยกว่า 4,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ksc)
- SD 50 ไม่น้อยกว่า 5,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ksc)
-ใช้ในงาน อาคารสูง สะพาน ฐานรากที่มีโหลดมากๆ
-ตัวอย่างการบอกชนิดขนาด
DB12 = เหล็กเส้นข้ออ้อยขนาด 12 มิลลิเมตร
***จุดคราก (Yied Point) คือ จุดหนึ่งที่ได้มาจากการทดลองโดยการนำเอาเหล็กไปดึงตามวิธีมาตรฐานในการทดสอบ แล้วจะได้ค่าต่างๆของเหล็กอออกมา ซึ่งจุดคราก (Yied Point) เป็นจุดที่เหล็กสามารถยืดออกได้มากสุด เมื่อมีการเพิ่มแรงเล็กน้อยหรือไม่เพิ่มแรงเลย***
10 ยี่ห้อ ผลิตภัณฑ์ ปูน สี ที่หาซื้อได้ เพื่อนำมาทำบ้าน ผนังปูน loft DIY ได้เองง่าย
ในการก่อสร้างบ้านหรืออาคารต่างๆ อิฐคือวัสดุหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการนำมาเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้าง อิฐก็มีอยู่หลายชนิดหลายประเภท จึงต้องมีการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ประเภทไหนดี
หินที่ใช้ในการก่อสร้างมีมากมายหลายชนิด ที่เราคุ้นตากันก็จะมีหินเบอร์ 1 ที่นำมาผสมปูนกัน หินคลุก หินลูกลัง
แบบบ้านเรือนไทยมีใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึง สมัยรัชกาลที่ 3 จะเป็นบ้านที่ทำด้วยไม้ทั้งหลัง ยกสูงมีใต้ถุน มีเสาต้นใหญ่ๆ
กระเบื้องลอนคู่ VS หลังคาเมทัลชีท เริ่มมีการจับคู่เปรียบเทียบกันอยู่บ่อยๆของคนที่จะสร้างบ้าน หรือต่อเติมซ่อมแซมบ้าน
แบบถนนคอนกรีต คือ โครงสร้างชั่วคราวที่ใช้ในการหล่อคอนกรีตสำหรับสร้างถนน โดยทำหน้าที่เป็นโครงร่างเพื่อกำหนดรูปร่าง ความหนา และระดับของถนนคอนกรีต
การซ่อมถนนคอนกรีตเป็นกระบวนการที่สำคัญในการรักษาสภาพถนนให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ วิธีการซ่อมแซมจะขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของความเสียหาย
ถนนคอนกรีตแตกรอยต่อ เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันครับ หลักๆ แล้วเกิดจากคุณสมบัติของคอนกรีตเอง รวมถึงปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่ส่งผลต่อเนื้อคอนกรีต
ค่า st ของคอนกรีต หรือที่เรียกว่า กำลังอัดของคอนกรีต (Concrete Compressive Strength) หมายถึง ความสามารถของคอนกรีตในการรับแรงกดหรือแรงอัด มีหน่วยเป็น กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ksc) หรือ เมกะปาสคาล (MPa)
ลูกปูน คือ ก้อนคอนกรีตขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นก้อนกลม สี่เหลี่ยม หรือทรงกระบอก ที่ใช้ในงานก่อสร้าง