ปูนเกร้าท์ คือ ปูนอะไร
ปูนเกร้าท์ เป็นปูนซีเมนต์สำเร็จรูปที่ใช้ในการซ่อมแซมงานคอนกรีต โดยมีชื่เรียกที่แตกต่างกันไป เช่น ปูนเกร้าท์ (Cement Grout), ปูนนอนชริ้งค์ (Non-Shrink), ปูนนอนชริ้งค์ เกร้าท์ (Cement Non-Shrink Grout), ปูนรับแรง
(Compaction Grouting ) หรือปูนไม่หดตัว แถมช่างบางคนยังเรียกว่า ปูนน้ำนม อีกด้วยแต่ทั้งหมดนี้คือตัวเดียวกัน
คุณสมบัติของปูนเกร้าท์ คือ เป็นปูนผสมเสร็จ มีกำลังรับรับกำลังแรงอัด แรงดัด และการยึดติดสูง ไม่หดตัวเมื่อแข็งตัว มีความเหลว และไหลตัวดี ทำให้เทได้ง่าย มีการคงสภาพรูปทรงที่ดี มีการคงสภาพรูปทรงที่ดี ไม่เกิดการเยิ้ม ไม่เป็นพิษ และไม่ก่อให้เกิดสนิม
ลักษณะงานที่ใช้ การซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต การเทฐานรากของคอนกรีต การฝังหรือยึดชิ้นส่วนต่างๆ เช่น
- เทยึดน๊อตเหล็ก
-รองรับคานสะพาน
- เทฐานแบบขนาดใหญ่
-ฐานเครื่องจักร
-งานเทอุดรูเพื่อเสริมความแข็งแรง
ค่ากำลังอัด (Compressive Strength) หรือความแข็งของปูนเกร้าท์ ตามท้องตลาดมีอยู่หลายค่า แล้วแต่เราจะเลือกใช้ มีทั้งแบบถุง (ถุงละ 25 kg) และแบบถัง (ถังละ 20 kg)
10 ยี่ห้อ ผลิตภัณฑ์ ปูน สี ที่หาซื้อได้ เพื่อนำมาทำบ้าน ผนังปูน loft DIY ได้เองง่าย
ในการก่อสร้างบ้านหรืออาคารต่างๆ อิฐคือวัสดุหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการนำมาเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้าง อิฐก็มีอยู่หลายชนิดหลายประเภท จึงต้องมีการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ประเภทไหนดี
หินที่ใช้ในการก่อสร้างมีมากมายหลายชนิด ที่เราคุ้นตากันก็จะมีหินเบอร์ 1 ที่นำมาผสมปูนกัน หินคลุก หินลูกลัง
แบบบ้านเรือนไทยมีใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึง สมัยรัชกาลที่ 3 จะเป็นบ้านที่ทำด้วยไม้ทั้งหลัง ยกสูงมีใต้ถุน มีเสาต้นใหญ่ๆ
กระเบื้องลอนคู่ VS หลังคาเมทัลชีท เริ่มมีการจับคู่เปรียบเทียบกันอยู่บ่อยๆของคนที่จะสร้างบ้าน หรือต่อเติมซ่อมแซมบ้าน
เครนที่ใช้ในงานก่อสร้างมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน น้ำหนักที่ต้องยก และสภาพแวดล้อมหน้างาน
การทดสอบดินบดอัดถนน เป็นขั้นตอนสำคัญในการก่อสร้างถนน เพื่อให้มั่นใจว่าดินที่ใช้ถมมีคุณสมบัติเหมาะสม แข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้ดี และไม่ทรุดตัวง่าย โดยทั่วไปมีการทดสอบหลายอย่าง
การเลือกดินสำหรับบดอัดถนนเป็นขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพและอายุการใช้งานของถนน โดยทั่วไป ดินที่เหมาะสมควรมีคุณสมบัติดังนี้
กระเบื้องลอนคู่เป็นกระเบื้องมุงหลังคาที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนและมีลอนคู่ที่ทำให้กระเบื้องดูมีมิติ ซึ่งลอนคู่ทำหน้าที่ในการป้องกันน้ำฝนไหลเข้าสู่ภายในอาคารได้ดี การออกแบบที่มีลอนคู่ช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับหลังคาอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วกระเบื้องลอนคู่มีคุณสมบัติเด่นดังนี้