เลื่อยลันดา
เลื่อยเป็นเครื่องมือตัดที่มีใบมีดเหล็กเทมเปอร์ (tempered-steel ) ที่มีฟันแหลม เนื่องจากเหล็กมีราคาถูกขึ้นรูปง่ายและแข็งแรงมากจึงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับเลื่อยส่วนใหญ่
Tempering (การอบคืนตัว) คือ การอบเหล็กที่อุณหภูมิต่ำเพื่อให้เหล็กมีคุณสมบัติเหมาะในการใช้งานภายหลังจากการชุบแข็งเพื่อลดความเค้น เพิ่มความเหนียว ลดความเปราะลง
ส่วนประกอบของเลื่อยลันดา
• มือจับ เป็นจุดที่เราจับในการใช้งานก่อนนั้นทำมาจากไม้ แต่ตอนนี้ทำจากวัสดุหลากหลายประเภท โดยมีใบเลื่อยจะเสียบแล้วยึดด้วยสกรู
• ส้นเลื่อย คือ จุดที่กว้างที่สุดขอใบเลื่อยและยึดติดกับมือจับ
• ปลายเลื่อย คือ จุดที่แคบที่สุดขอใบเลื่อย
• สันเลื่อย คือ จุดด้านบนสุดของใบเลื่อย (ตรงข้ามกับฟันเลื่อย)
• ฟันเลื่อย คือ จุดที่จะตัดไม้ เป็นแหลมเล็กๆ อยู่ระหว่างสันกับปลายเลื่อย ตรงข้ามกับสันเลื่อย
นอกจากนี้ยังมีการเลือกชื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับฟันเลื่อยคือ
• โคนฟันเลื่อย คือ จุดต่ำสุดของร่องฟันเลื่อย
• ยอดฟันเลื่อย คือ จุดสูงสุดของฟันเลื่อย
• ความสูงฟันเลื่อย คือ ระยะจากโคนฟันถึงยอดฟัน
• ร่องฟันเลื่อย คือ ระยะห่างระหว่างฟันเลื่อย
การวัดความถี่ของฟันบนใบเลื่อย (จำนวนฟัน)
- บอกเป็นจุดต่อ 1 นิ้ว (Points per inch (25 mm)) คือ การวัดที่ยอดฟัน (จุดสูงสุด) หนึ่งไปยังอีกยอดฟันหนึ่งที่ความยาว 1 นิ้ว (25 มิลลิเมตร) แล้วนับจำนวนยอดฟันที่ความยาว 1 นิ้ว (25 มิลลิเมตร) โดยทั่วไป จุดที่บอกนี้จะมีค่ามากกว่าฟันเลื่อยอยู่ 1 ฟัน เช่น เลื่อย 7 จุด จะมีฟันเลื่อยเท่ากับ 6 ฟัน
- บอกเป็นจำนวนฟันต่อนิ้ว (Teeth Per inch ; TPI) คือ การวัดที่ร่องฟันหนึ่งไปยังอีกร่องฟันหนึ่งที่ความยาว 1 นิ้ว (25 มิลลิเมตร) แล้วนับจำนวนยอดฟันที่ความยาว 1 นิ้ว (25 มิลลิเมตร) เช่น เลื่อย 7 TPI จะมีฟันเลื่อยเท่ากับ 7 ฟัน
10 ยี่ห้อ ผลิตภัณฑ์ ปูน สี ที่หาซื้อได้ เพื่อนำมาทำบ้าน ผนังปูน loft DIY ได้เองง่าย
ในการก่อสร้างบ้านหรืออาคารต่างๆ อิฐคือวัสดุหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการนำมาเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้าง อิฐก็มีอยู่หลายชนิดหลายประเภท จึงต้องมีการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ประเภทไหนดี
หินที่ใช้ในการก่อสร้างมีมากมายหลายชนิด ที่เราคุ้นตากันก็จะมีหินเบอร์ 1 ที่นำมาผสมปูนกัน หินคลุก หินลูกลัง
แบบบ้านเรือนไทยมีใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึง สมัยรัชกาลที่ 3 จะเป็นบ้านที่ทำด้วยไม้ทั้งหลัง ยกสูงมีใต้ถุน มีเสาต้นใหญ่ๆ
กระเบื้องลอนคู่ VS หลังคาเมทัลชีท เริ่มมีการจับคู่เปรียบเทียบกันอยู่บ่อยๆของคนที่จะสร้างบ้าน หรือต่อเติมซ่อมแซมบ้าน
แบบถนนคอนกรีต คือ โครงสร้างชั่วคราวที่ใช้ในการหล่อคอนกรีตสำหรับสร้างถนน โดยทำหน้าที่เป็นโครงร่างเพื่อกำหนดรูปร่าง ความหนา และระดับของถนนคอนกรีต
การซ่อมถนนคอนกรีตเป็นกระบวนการที่สำคัญในการรักษาสภาพถนนให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ วิธีการซ่อมแซมจะขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของความเสียหาย
ถนนคอนกรีตแตกรอยต่อ เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันครับ หลักๆ แล้วเกิดจากคุณสมบัติของคอนกรีตเอง รวมถึงปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่ส่งผลต่อเนื้อคอนกรีต
ค่า st ของคอนกรีต หรือที่เรียกว่า กำลังอัดของคอนกรีต (Concrete Compressive Strength) หมายถึง ความสามารถของคอนกรีตในการรับแรงกดหรือแรงอัด มีหน่วยเป็น กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ksc) หรือ เมกะปาสคาล (MPa)
ลูกปูน คือ ก้อนคอนกรีตขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นก้อนกลม สี่เหลี่ยม หรือทรงกระบอก ที่ใช้ในงานก่อสร้าง